Category Archives: การศึกษา

สถานศึกษามีส่วนช่วยในการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ให้แก่เยาวชน

ในปัจจุบันมีสิ่งประดิษฐ์มากมายที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับมนุษย์ กลายเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาประเทศ อีกทั้งสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆไม่ได้แสดงถึงด้านวิทยาการที่ก้าวหน้าเพียงอย่างเดียว แต่ยังช่วยให้เศรษฐกิจดีขึ้น เพราะสิ่งประดิษฐ์สามารถเป็นสินค้าช่วยส่งออกได้

ในประเทศไทยมีการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น แต่ยังขาดทางด้านการพัฒนาไปสู่การผลิตเป็นสินค้า เพราะนอกจากจะสอนให้รู้จักคิดแล้วต้องสอนการรู้จักนำไปใช้ด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าเสียดาย เพราะสิ่งประดิษฐ์หลายๆชั้นเกิดขึ้นภายในสถานศึกษา และจบลงในสถานศึกษาด้วยเช่นกัน งๆที่สิ่งประดิษฐ์ต่างๆสามารถนำไปพัฒนาเป็นสินค้าที่จะเปลี่ยนแปลงโลกได้ ยกตัวอย่างในต่างประเทศเมื่อมีคนคิดไอเดียขึ้นมา เขาก็จะเริ่มต้นในการประดิษฐ์เพื่อนำไปทดลองใช้ จากนั้นจึงนำไปเสนอต่อวงการธุรกิจทีเกี่ยวข้อง ถ้าองค์กรธุรกิจเหล่านี้เห็นประโยชน์ เขาจะซื้อไอเดียเพื่อนำไปผลิตเป็นสินค้า ถ้าคนไทยสามารถทำได้แบบในต่างประเทศจะเป็นสิ่งที่ทำให้ประเทศไทยพัฒนาไปได้

การที่เด็กและเยาวชนไม่ค่อยมีสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆนั้น ไม่ใช่เพราะไม่มีการคิด แต่ยังขาดในด้านการนำเสนอที่ไม่ชัดเจนมากกว่า ซึ่งเป็นผลมาจากที่การศึกษามุ่งเน้นให้ความรู้แต่เพียงฝ่ายเดียวมากกว่า ที่จะสอนให้ผู้เรียนนำความรู้มาประยุกต์ใช้ สิ่งนี้ทำให้คนไทยคิดไม่เป็น ถึงแม้ว่าจะมีความคิดดีๆแต่ก็ไม่รู้ว่าจะสามารถถ่ายทอดออกมายังไง แม้แต่ในสถานศึกษาเองที่ส่งเสริมให้นักเรียนทำโครงงานมากมาย เช่น โครงการทางวิทยาศาสตร์ แต่แล้วหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับไม่ให้ความสำคัญไปกว่าผลงานที่ใช้ในการนำเสนอเท่านั้น ในส่วนของสถานศึกษาควรที่จะให้ความสำคัญมากกว่านี้ ถึงแม้จะเป็นไอเดียที่ดูหลุดโลก แต่เมื่อเรานำมาพัฒนาทางด้านวิทยาการ ก็สามารถที่จะทำให้ไอเดียเหล่านั้นกลายมาเป็นผลงานที่สามารถจับต้องได้จริง และสามารถแสดงออกถึงทรัพย์สินทางปัญญาได้ดีด้วย

เด็กและเยาวชนส่วนใหญ่ล้วนแต่มีความคิดดีๆ เพียงแต่ขาดการสนับสนุน สิ่งนี้เองคือหน้าที่ของผู้ปกครองและสถานศึกษาที่จะต้องเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนเหล่านี้ มีโอกาสในในการนำเสนอสิ่งประดิษฐ์ของตนเอง ไม่แน่ในอนาคตสิ่งประดิษฐ์เหล่านี้อาจจะเป็นสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ที่ช่วยเปลี่ยนโลกก็ได้

การศึกษาและพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ให้ทันต่อต่างชาติ

ในปัจจุบันทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความเจริญก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง การพัฒนาขึ้นเรื่อยๆทำให้มนุษย์เริ่มมีสิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน มนุษย์ในทุกวันนี้มีความผูกพันอยู่กับความเจริญทางเทคโนโลยี โดยเฉพาะคนเมืองในสังคมที่ผูกติดอยู่กับเทคโนโลยีอย่างไม่รู้ตัว การศึกษาทางวิทยาศาสตร์มีจุดมุ่งหมายเพื่อแสวงหาความรู้แบบเป็นกระบวนการ ตั้งข้อสังเกต พิสูจน์ ด้วยวิทยาศาสตร์

ในหลายปีที่ผ่านมาวิทยาศาสตร์ก้าวไปอย่างรวดเร็วที่สุด การค้นคว้าวิจัยในการผลิตสินค้าออกมาใช้ ได้ลดระยะได้สั้นลงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางอิเล็กทรอนิกส์ แต่ความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทยยังก้าวไปได้ช้ามากถ้าเทียบกับประเทศอื่นๆ ถึงแม้จะมีการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจสูง แต่ก็เป็นการเริ่มมากจากพื้นฐานที่ต่ำ และที่สำคัญการเติบโตยังต้องอาศัยหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น พื้นที่ การลงทุน แรงงานที่ถูก นอกจากนั้นยังไม่มีการทุ่มเททรัพยากรด้านต่างๆให้เข้ากับการพัฒนาอย่างจริงจัง ประเทศจึงไม่สามารถก้าวพ้นอุปสรรคของการพัฒนาไปได้ เราจะไม่มีเทคโนโลยีที่เป็นเจ้าของเอง เราจึงต้องพึ่งพาอาศัยเทคโนโลยีของประเทศอื่นอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นการเริ่มต้นทางวิทยาศาสตร์พื้นฐาน จึงเป็นปัจจัยสำคัญ

ในสถานศึกษาเริ่มมีการเปิดสอนในส่วนของวิชาปัญญาประดิษฐ์ เป็นระบบโปรแกรมที่สามารถแก้ปัญหาอย่างกับใช้ปัญญาของมนุษย์จริงๆ ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์เริ่มที่จะประดิษฐ์คอมพิวเตอร์ให้ทำงานเลียนแบบมนุษย์แบบมีเหตุผล เช่น มหาวิทยาลัยต่างๆเริ่มมีการสอนเขียนโปรแกรมบังคับหุ่นยนตร์ให้ใกล้เคียงกับการเคลื่อนไหวของมนุษย์ และจดจำเสียงของผู้ใช้ได้ โดยผู้ใช้สามารถออกคำสั่งและตอบโต้กับคอมพิวเตอร์แทนการกดแป้นพิมพ์ ซึ่งเป็นประโยชน์กับผู้ที่ไม่ถนัดในการใช้งานคอมพิวเตอร์ เช่น คนสูงอายุ หรือผู้บริหารระดับสูงที่สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ผ่านการสั่งการด้วยเสียง ซึ่งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับธุรกิจ

ในด้านภาครัฐควรเร่งส่งเสริมให้เยาวชนมีความสามารถด้านเทคโนโลยี เพราะถ้าสามารถผลักดันให้ก้าวทันต่อต่างชาติ เพื่อลดการพึ่งพาอาศัยเทคโนโลยีของประเทศอื่นๆได้ด้วย รัฐควรเร่งสนับสนุนทางด้านการศึกษาไปยังโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยต่างๆ มีการจัดอบรมให้กับครู เพื่อให้รู้ว่าควรจะจัดการเรียนการสอนอย่างไรจึงจะเสริมสร้างกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และนำมาประยุกต์ใช้ต่อเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปตลอดเวลา

เทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ทางการศึกษามีความสำคัญมากขึ้นต่อการดำรงชีวิต

77

วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีความจำเป็นและเพิ่มความสำคัญเป็นลำดับมากขึ้นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์แม้ว่าการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะเอื้ออำนวยในด้านชีวิตความเป็นอยู่ที่สะดวกสบายและอายุยืนนานขึ้น หากการการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ โดยมิได้พิจารณาอย่างสุขุมรอบคอบและกว้างไกลแล้ว ย่อมเกิดผลเสียต่อสภาพแวดล้อมและสมดุลทางธรรมชาติอย่างมหันต์ เมื่อมองไปข้างหน้า วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควรช่วยเตรียมให้มนุษย์มีความพร้อมที่จะเผชิญกับปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต และปัญหาอันเกี่ยวเนื่องกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม ข้อที่พึงตระหนัก คือ การดำรงชีวิตของมนุษย์มิใช่เพื่อกอบโกยผลประโยชน์จากธรรมชาติ หรือการทำตนอยู่เหนือธรรมชาติ หากแต่มนุษย์ต้องเรียนรู้ธรรมชาติที่จะดำรงชีวิตอย่างสันติร่วมกับผู้อื่น กับสังคมวัฒนธรรม และกับธรรมชาติ

ดังนั้นในชีวิตประจำวันของมนุษย์ทุกคน จะต้องเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอยู่ตลอดเวลา เกี่ยวข้องกับวิวัฒนาการทางด้านความรู้ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงหลาย ๆ ด้าน จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะทำให้บุคคลในสังคม รู้จักวิธีการคิดอย่างมีเหตุผล มีวิธีการแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่มีระบบ อันจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาด้านสติปัญญาซึ่งวิธีการคิดนั้นเป็นวิธีเดียวกันกับที่ใช้อยู่ในกระบวนการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์

คงเป็นที่ยอมรับกันว่า ขณะนี้เราอยู่ในยุคที่วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเจริญสูงสุด ทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับตัวเรานั้นเป็นผลมาจากการพัฒนาของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั้งสิ้น อย่างไรก็ตามอิทธิพลของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีส่วนใหญ่ที่มีต่อเศรษฐกิจ และการเสาะแสวงหาความรู้นั้นยังไม่เป็นที่เด่นชัดสำหรับประชาชนส่วนใหญ่  ประชาชนส่วนใหญ่ได้รับข้อมูลผิดพลาดเกี่ยวกับความหมาย และอิทธิพลของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มีต่อ วัตถุ สังคม และชีวิตความเป็นอยู่ ดังนั้นการให้ความรู้หรือการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ จะเป็นการเตรียมคนเพื่อแก้ปัญหา ต่าง ๆ ในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในอนาคต และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ จะยิ่งเกิดขึ้นมากเรื่อย ๆ ขณะเดียวกันวิทยาศาสตร์ก็จะเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับสังคมมากขึ้น จึงเป็นสิ่งที่แน่นอนว่าความสำคัญของวิชาวิทยาศาสตร์ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของการให้การศึกษาพื้นฐานทั่วไป จะมีมากขึ้น จะเห็นได้ว่าทุกคนจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งระดับของการศึกษาของแต่ละคนนั้นย่อมขึ้นอยู่กับเป้าหมายและความสนใจของแต่ละบุคคล

การศึกษาและการวิจัยประดิษฐ์คิดค้นทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

การวิจัยทางวิทยาศาสตร์ เป็นการสำรวจ วิเคราะห์ ทดลองอย่างมีระบบและเป็นขั้นตอนด้วยอุปกรณ์หรือวิธีพิเศษ เกี่ยวกับธรรมชาติ  สิ่งมีชีวิต ปรากฏการณ์ธรรมชาติ ตลอดจนสิ่งที่มนุษย์ได้สร้างสรรค์ขึ้นมาด้วยความรู้ หรือประสบการณ์ เพื่อเสนอความรู้ใหม่ เพื่อสุขภาพอนามัยความผาสุกและความเจริญก้าวหน้าของมนุษยชาติ
science-technology2
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เข้ามามีบทบาทในการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ อย่างกว้างขวางและยิ่งนับวันจะมีความสำคัญมากยิ่งขึ้น ประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจ ที่มั่นคงมักจะเป็นประเทศที่มีความเจริญก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสูง จึงกล่าวได้ว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาประเทศ เมื่อพิจารณาถึงสภาพการผลิตนักวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในประเทศไทย พบว่าผู้มีความรู้ ความสามารถสูงเป็นพิเศษทางวิทยาศาสตร์มีแนวโน้มที่จะเลือกเข้าศึกษาต่อใน คณะวิทยาศาสตร์น้อยลงทุกปี ส่วนใหญ่จะเลือกศึกษาในสาขาที่ให้ผลตอบแทนเป็นรายได้ที่ ค่อนข้างสูง เช่น แพทยศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ สภาพเช่นนี้เนื่องจากสาเหตุหลายประการได้แก่สถานภาพทางด้านสังคม อาชีพ รายได้บรรยากาศในการทำงานไม่เอื้อหรือจูงใจให้ผู้มีความสามารถสูงหันมาประกอบอาชีพเป็นนักวิทยาศาสตร์ จึงทำให้ปัญหาที่น่าวิตกอย่างยิ่งคือ ในอนาคตอันใกล้ ประเทศไทยจะขาดผู้มีความสามารถสูงในวงการวิทยาศาสตร์ทั้งในมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัย หน่วยงานอื่น ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน

การศึกษาและการวิจัยประดิษฐ์คิดค้นทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งครั้งหนึ่งในสมัยประวัติศาสตร์ที่ผ่านมา เป็นเพียงกิจกรรมส่วนหนึ่งของนักปราชญ์กลุ่มย่อยๆในสังคม ได้เปลี่ยนแปลงกลายมาเป็นอาชีพที่หลายคนให้ความเชื่อถือ และใฝ่ฝันที่จะได้เข้าไปมีบทบาทร่วมดำเนินการ ฐานะ และภาพพจน์ของสังคมที่มีต่ออาชีพการวิจัยและการประดิษฐ์คิดค้น ไม่ว่าจะเป็นของนักวิทยาศาสตร์ วิศวกร หรือ นักเทคโนโลยี ไม่เป็นรองอาชีพใด ๆ ประเทศมหาอำนาจต่าง ๆ ได้กำหนดนโยบายสนับสนุนงานค้นคว้าวิจัยเป็นอย่างมาก จึงเกิดสถาบันค้นคว้าวิจัยที่มีผู้ทำงานเป็นกลุ่มซึ่งแต่ละคนจะฝึกฝนมาเป็นผู้ชำนาญเฉพาะด้านเฉพาะแขนง งบประมาณสำหรับการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนั้น ได้จากงบประมาณแผ่นดิน แหล่งเงินทุน มูลนิธิ และบริษัทอุตสาหกรรมต่าง ๆ ซึ่งให้ในรูปเงินทุนวิจัยแก่มหาวิทยาลัย หรือจัดตั้งห้องปฏิบัติการของตนเองแล้วจ้างนักวิทยาศาสตร์หรือวิศวกรเข้าไปทำงานวิจัย การคิดค้นทฤษฎีและวิธีการประยุกต์จึงเป็นไปอย่างกว้างขวางต่อเนื่องและรวดเร็ว ผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่พิมพ์เผยแพร่กันในปัจจุบันและสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ มีมากมายจนไม่สามารถที่จะรวบรวมไว้ ณ ที่หนึ่งที่ใดได้หมดสิ้น เนื้อหาความรู้ในแต่ละแขนงวิชาก็มีความลึกซึ้ง และเริ่มขยายขอบเขตไปคาบเกี่ยวกับคน ในบางครั้งไม่อาจจะแยกลงไปอย่างชัดเจนว่าจัดอยู่ในสาขาใดแน่ ตัวอย่างเช่น วิชาชีวเคมี วิชาชีวฟิสิกส์ และวิศวกรรมการแพทย์

การศึกษาวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน

การศึกษาวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ในปัจจุบัน

ปัจจุบันเราจะเห็นผลงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ศึกษาตีพิมพ์เผยแพร่กันหลากหลายทั้งในวารสารวิชาการ วิทยานิพนธ์ หรือเอกสารการประชุมวิชาการ ซึ่งถือว่าเป็นนิมิตหมายอันดีที่มีการขับเคลื่อนการศึกษาโดยอาศัยกระบวนการวิจัยเข้าเพื่อหาคำตอบหรือพัฒนาการศึกษาวิทยาศาสตร์ ในขณะที่เราชาววิทยาศาสตร์ศึกษากำลังก้าวเดินไปอยู่ในยุค Research-based society นั้น เราควรได้หยุดคิดและทบทวนกันสักนิดว่า การวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ศึกษาของเราในอดีตและปัจจุบันเป็นอย่างไร การที่เรารู้อดีตและปัจจุบันจะทำให้เรารู้อนาคตของตนเองว่าจะเป็นไปในทิศทางใด หากเราไม่รู้อดีตและปัจจุบัน เราก็จะไม่มีอนาคต การวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ศึกษาก็เช่นเดียวกัน ดังนั้นจากแนวคิดดังกล่าวผู้เขียนขอเก็บและเล่าประสบการณ์เกี่ยวกับการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้อ่าน ทั้งนี้เรื่องที่เราเป็นเพียงประสบการณ์การศึกษาและการตรวจผลงานวิทยานิพนธ์และงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ศึกษาของประเทศไทย โดยมีสถานการณ์การวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ศึกษามีดังต่อไปนี้

การวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ศึกษาในของกลุ่มนักวิจัยบางกลุ่มมักนำวิธีทางวิทยาศาสตร์มาปรับใช้และเข้าใจว่าการวิจัยต้องใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะเริ่มจากการสังเกต ตั้งปัญหา กำหนดคำถาม ตั้งสมมติฐาน ทดลอง และสรุปผลการทดลอง อย่างเป็นขั้นตอนตายตัว ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เพราะวิธีนี้เป็นเพียงหนึ่งวิธีที่จะได้มาซึ่งความรู้เท่านั้น  แม้แต่นักการศึกษาหลายคนก็เกิดความสับสนและตีความคำว่า การสืบเสาะหาความรู้ (inquiry) กับคำว่า scientific methods ว่าคือสิ่งเดียวกัน โดยแท้จริงแล้วคำว่า inquiry นี้หมายถึงกระบวนการต่างๆ ที่ใช้ในการค้นหาความรู้ ไม่จำเป็นต้องเป็นขั้นตอนตายตัว หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือกระบวนการที่ใช้ศึกษาปรากฏการณ์และอธิบายปรากฏการณ์นั้น ซึ่งวางอยู่บนพื้นฐานของหลักฐานหรือเหตุผลต่างๆ  โดยมักจะเริ่มต้นจากการสังเกต ตั้งคำถาม ค้นคว้าหาความรู้ การเก็บรวบรวม วิเคราะห์ และแปลความหมายข้อมูล ตอบคำถาม อธิบาย และสื่อความหมาย ทั้งนี้สิ่งที่สำคัญก็คือหลักฐานจะต้องมีความชัดเจนและสำรวจตรวจสอบได้ ทั้งนี้งานวิจัยส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นวิจัยเกี่ยวกับการเรียนการสอนเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นเรื่องที่ตอบสนองกับนโยบายการปฏิรูปการศึกษา แต่อย่างไรก็ตาม การขับเคลื่อนให้วิทยาศาสตร์ศึกษาประสบความสำเร็จได้ ตั้งอาศัยองค์ความรู้จากหลาหลายด้าน ดังนั้นการวิจัยก็เช่นเดียวกัน ควรมีการวิจัยในหลากหลายด้าน เพื่อนำองค์ความรู้มาต่อเป็น Jigsaw เพื่อตอบโจทย์เกี่ยวกับประเด็นวิทยาศาสตร์ศึกษาของประเทศไทยในปัจจุบันให้ได้